เมนู

ฉบับอักษรสิงหลนั้น แต่ปรากฏว่า แต่ละฉบับก็มีวิธีจักระเบียบเนื้อเรื่องไม่เหมือนกัน และมี
้ข้อความบางตอนแปลกกันออกไปบ้าง เช่น ฉบับอักษรโรมันต่างกับ ฉบับอักษรไทย ทั้งทางการ
จัดระเบียบ และข้อความบางตอนเป็นต้น การที่แปลกกันออกไปนั้น บางท่านได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า
อาจถูกเปลี่ยนโดยผู้คัดลอกทางยุโรธ หรือผู้คัดลอกทางพม่า ลังกา ไทย ก็ได้ หรือไม่ก็เปลี่ยน
แปลงตั้งแต่คราวแปลจากภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาบาลีแล้ว
ต่อมาได้มีผู้ค้นพบว่า มีมิลินทปัญหาฉบับแปละเป็นภาษาจีนด้วย โดยแปลออกจาก
ภาษาท้องถิ่นของอินเดีย และแปลถึง 3 คราว คือ ในคริสตศววรรษที่ 3 ที่ 4 และที่ 5
บรรดาฉบับที่แปลเป็นภาษาจีนเหล่านี้ ฉบับที่แปลครั้งที่ 2 (คือที่แปลในศตวรรษที่ 4) เท่านั้น
ที่ยังเหลือตกทอดมาถึงพวกเรา โดยเรียกว่า นาคเสนภิกษุสูตร (นาเสียนปีคิว) ตอนที่ 2-3
และบางส่วนของตอนที่ 1 เท่านั้นที่ตรงกับฉบับภาษาบาลี สำหรับตอนที่ 4 ถึง 7 นั้น เพิ่ม
เข้ามาใหม่ในลังกา โดยเฉพาะตอนที่ 4 นั้น ได้มีขึ้นหลังจากพุทธศตวรรษที่ 5 แล้ว และ
เนื่องจากความที่ไม่เหมือนกันนี้เอง ก็เป็นหลักฐานพอที่จะกล่าวได้ว่า มิลินทปัญหาอันยืดยาว
และมีชื่อเสียงนั้น ได้ถูกเพิ่มเติมเนื้อหาเข้ามาอีกในภายหลัง ซึ่งอย่างน้อยก็ส่วนที่จัดระเบียบไว้
ไม่เหมือกันในฉบับต่าง ๆ (1)
เกี่ยวกับฉบับแปลเป็นภาษาจีนนั้น ศาสตราจารย์ปอล เดอมีวิลล์ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ได้แปล
มิลินทปัญหาเป็นภาษาฝรั่งเศสกล่าวว่า เป็นที่เชื่อกันว่า ท่านคุณภัทร (พ.ศ 394-468) ชาว
อินเดีย(2) ได้นำเอามิลินทปัญหาเข้าไปในประเทศจีน โดยได้ฉบับไปจากประเทศลังกา และ
ปรากฏว่ามิลินทปัญหาภาคภาษาจีนนั้น มีอยู่ถึง 11 สำนวน ซึ่งคงจะได้แปลกันมาตั้งแต่
ระหว่าง คริตศวรรษที่ 6-13 (ราว พ.ศ. 1000-1800) และคงแปลจากต้นฉบับที่เป็น
ภาษาสันสกฤต เพราะจีนแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีนจากต้นฉบับที่เป็นภาษาสันสกฤต อัน
เป็นที่นิยมใช้กันในอินเดียเหนือและเอเซียกลางซึ่งเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนานิกาย
สรวาสติวาท และนิกายธรรมคุปต์ และความจริงก็ปรากฏว่าคัมภีร์พระพุทธศาสนาพากย์ภาษา
จีนที่แปลจากต้นฉบับที่เป็นภาษาบาลีนั้น มีเพียง 2 เรื่องเท่านั้น คือ สมันตปาสาทิกา
อรรถกถาพระวินัย และวิมุตติมัคค์ เท่านั้น อีกประการหนึ่ง เมื่อนำเอาคัมภีร์ต่าง ๆ ที่เป็น
ภาษาสันสกฤต บาลี และจีน มาเปรียบเทียบกันแล้ว ก็จะเห็นว่าฉบับที่เป็นภาษาบาลีกันภาษา
จีนนั้นแต่งต่างกันมาก แต่ฉบับภาษาจีนกลับไปเหมือนกันมากที่สุดกับฉบับภาษาสันสฤต
เมื่อนำฉบับภาษาจีน มาเทียบกับฉบับภาษาบาลีแล้ว ปรากฏว่าแตกต่างกันมากจนไม่น่าเชื่อได้

(1) Milinda,s Questions Vol.l,p. xxx-xxi
(2) นักแปลาวอินเดียได้แปลพุทธประวัติเป็นภาษาจีนเรียกว่า โกว ฮู ยิน โก กิง Kwo+Hu-Yin-Ko-King
(Sacred Book of the East Vol. xix, p. xxv).